ภาพ หมอนรองกระดูก

สุขภาพ หมอนรองกระดูกเคลื่อน สบายดีคลีนิก

{loadposition articletv}

ดูรายการ สบายดีคลินิก ล่าสุดวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2556 ตอน หมอนรองกระดูกเคลื่อน โรคที่อันตรายอีกโรค ที่เกิดจากการใช้ร่างกายผิดวิธี ส่วนมากจะเกิดกับคนที่อายุยังน้อย ที่สภาพของหมอนรองกระดูกยังสมบูรณ์อยู่ การนั่งผิดท่า หรือยกของผิดวิธี อาจจะเป็นแรงกระทำ ที่ไปกดทับให้เปลือกหุ้มหมอนรองกระดูกด้านนอกแตก จนเยลลี่หรือของเหลวที่อยู่ข้างในทะลักออกมา (เยลลี่ที่ทะลักออกมาจะใช้เวลาประมาณ 3-5 ปี จะสามารถแห้งไปเองได้) แต่ถ้าของเหลวเหล่านั้น ไหลไปกดทับเส้นประสาท จะทำให้เกิดอาการ ปวดขา ขาชา กล้ามเนื้อไม่มีแรง วัยที่พบว่าป่วยด้วยโรคนี้มากที่สุดคือ ช่วงอายุ 20 -35 ปี

นายแพทย์ชูเกียรติ เฉลิมพันธ์พิพัฒน์ อาจารย์จาก ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิบายว่า กระดูกสันหลังจะถูกคั่นด้วยหมอนรองกระดูก เป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดการเคลื่อนไหว เกิดการขยับตัวได้ ประกอบด้วยสองส่วน คือ ส่วนที่เป็นเปลือกหุ้มด้านนอก และเยลลี่ที่อยู่ตรงกลาง ซึ่งเป็นของเหลวกว่า 90 %

สาเหตุ เกิดจากการใช้งาน ของกระดูกสันหลังอย่างรุนแรง ใช้งานผิดท่า นั่ง หรือนอน ผิดวิธี เช่น นั่งยองๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ ที่ทำให้กระดูกก้มโค้งลงมา ท่าก้มหลังเป็นท่าที่อันตรายทุกท่า โดยเฉพาะ ท่ายืนแล้วก้มลง โน้มตัวไปยกของหนัก เป็นท่าที่อันตรายที่สุด

อาการ ก่อนที่หมอนรองกระดูกจะแตก จะปวดหลังมาก จนถึงกับขยับตัวไม่ได้ หลังจากเปลือกหุ้มแตก เยลลี่ทะลักออกมา ทำให้ความดันลดลง อาการปวดหลังจะทุเลาลง แต่ของเหลวที่ไหลออกมา ก็จะไหลไปเรื่อยๆ อาจจะไปกดทับเส้นประสาทได้ ซึ่งปัญหาหมอนรองกระดูกเคลื่อน มักจะเกิดบริเวณเอว เพราะต้องรับน้ำหนักตัวเยอะ ถ้าเกิดที่เอวเยอะ ส่วนที่ได้รับผลกระทบ จะเป็นเส้นประสาทตั้งแต่ก้น ไปจนถึงนิ้วหัวแม่เท้า

วิธีรักษา ทำอะไรไม่ได้มากนัก ผ่าตัดเอาออกก็ไม่เป็นที่นิยม ส่วนมากจึงเป็นการประคับประคองอาการ โดยใช้ทานยา และทำกายภาพบำบัด (หมอนรองกระดูกคือกระดูกอ่อน ฉะนั้นการทานแคลเซียม จึงไม่ช่วยในการซ่อมแซมกระดูกส่วนนี้ เพราะแคลเซียมช่วยบำรุง ฟื้นฟูเฉพาะกระดูกแข็งเท่านั้น)

ภาพ หมอนรองกระดูก
ภาพ หมอนรองกระดูก