วัยทอง คืออะไร สาเหตุและคำแนะนำจากแพทย์

{loadposition articletv}

ปัญหาเมื่อสุภาพสตรีมีอายุมากส่วนใหญ่นั้นจะสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการหลงๆลืมๆ และปวดเมื่อยตามตัวบ่อยๆนั้นเกิดจากโรคของ วัยทอง นั้นเอง วัยทองคืออะไร วัยทองนั้นเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ช่วงอายุหนึ่งซึ่งเป็นช่วงที่อายุมีความมั่นคงมาก คนเอเซียส่วนมากพบในผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีเป็นต้นไป ส่วนคนยุโรปนั้นจะเป็นโรควัยทองช้ากว่าคนเอเซีย ซึ่งเป็นเพราะพันธุกรรมที่ต่างกัน
คนส่วนใหญ่คิดว่าวัยทองนั้นสามารถเกิดในเฉพาะผู้หญิง แต่แท้ที่จริงแล้วผู้ชายก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน แต่ที่พบในผู้หญิงมากกว่าเพราะ ผู้ชายไม่ค่อยไปพบแพทย์ นั้นเอง

สาเหตุของโรควัยทอง

สาเหตุของวัยทองนั้นแท้ที่จริงแล้วเป็นภาวะตามธรรมชาติ เมื่อคนเราเข้าสู่อายุหนึ่งระดับการทำงานของต่อมเพศของคนเราก็จะลดลง ซึ่งต่อมเพศปกตินั้นจะมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศเพื่อสร้างความเป็นหนุ่มสาวขึ้นมา
ในส่วนของต่อมเพศหญิงของผู้หญิงก็คือ รังไข่ ซึ่งรังไข่นั้นจะผลิตฮอร์โมนที่เป็นฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) และต่อมเพศชายของผู้ชายก็คือ อัณฑะ ซึ่งอัณฑะนั้นจะผลิตฮอร์โมนที่เป็นเทสโทสเทอโรน (testosterone)
โรควัยทองนั้ก็สามารถเกิดในผู้หญิงที่ถูกผ่าตัดมดลูกได้เช่นกัน เนื่องจากถูกตัดต่อมเพศออกไปจึงไม่สามารถผลิตฮอร์เพศเพสได้

อาการของโรควัยทองในเพศหญิง

อาการวัยทองในผู้หญิงจะมีอาการหงุดหงิด สุขภาพไม่ค่อยแข็งแรง นอนไม่ค่อยหลับ มีอาการหลงๆลืมๆ ปวดเมื่อยตามตัวบ่อยๆ และมดลูกเกิดการหดตัวหรือมดลูกฝ่อนั้นเอง

อาการของโรควัยทองในเพศชาย

อาการวัยทองในผู้ชายจะมีอาการคล้ายผู้หญิงแต่จะมีอาการเด่นชัดนั้นก็คือ ในเรื่องของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อภายในร่างกายจะลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะกล้ามเนื้อบริเวรอวัยวะเพศนั้นการแข็งตัวจะลดลงและหย่อนยานลง

คำแนะนำเมื่อเข้าสู่วัยทอง

เมื่อมีความรู้สึกว่าเข้าสู่ภาวะวัยทอง ขั้นแรกคือไม่ควรวิตกกังวนหรือซื้อยาฮอร์โมนมารับประทาน เพราะการทานยาอาจจะทำเกิดการผิดปกติต่อร่างกายได้ หากพบหรือสงสัยว่าตนเองเป็นโรควัยทองควรไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยแล้วหาสาเหตุเพื่อรักษาต่อไป

การรักษาโรควัยทอง

1.แรกเริ่มโรควัยทองหากอาการไม่มากเท่าไหร่ จะเป็นการปรับการใช้ชีวิตประจำวัน ปรับเปลี่ยนทัศนะคติ มีการผ่อนคลาย
2.หากมีอาการนอนไม่หลับ หลงลืม หงุดหงิด เหงื่อแตก หรือใจสั่นมาก ซึ่งอาจจะมีการได้รับฮอร์โมน แต่ในการรับฮอร์โมนนั้นจะต้องมีการควบคุมพิเศษ เพราะฮอร์โมนนั้นมีผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน
ขอบคุณ นายแพทย์ จงรักษ์ เทพสุวรรณ สูตินารีแพทย์ โรงพยาบาลสมิติเวช ธนบุรี